บริการของเรา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรเทพ โรจนวสุ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา และ คุณมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เรื่อง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะวิชาชีพด้านเทคโนโลยี ณ อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์ ชั้น IT อีกทั้งยังเดินทางเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลคอมพิวเตอร์ไอเน็ตแห่งที่ 3 (INET IDC-3) อ.แก่งคอย จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา
.
โดยความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาองค์ความรู้ และปรับปรุงหลักสูตร ให้นิสิตและบุคลากรมีทักษะด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการภาคธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมกิจกรรมร่วมระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา และภาคธุรกิจ พัฒนานวัตกรรมดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมนิสิตให้มีศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในยุค Digital Tranformation ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
วันที่ 7 ก.พ. 2568
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568 คุณอาณัติ ทรัพย์ทวีกุล กรรมการบริหาร บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ คุณวัลล์ชัย เวชชีวะดำรงค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แมนดาลา คอมมูนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เรื่อง ยกระดับ Climate Tech ส่งเสริมการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์ ชั้น IT
ความร่วมมือ
วันที่ 27 ม.ค. 2568
บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INET ได้จัดกิจกรรม Investor Insight เปิดบ้านต้อนรับนักลงทุน เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2568 ณ INET HALL ชั้น IT อาคารไทยซัมมิท ทาวเวอร์ โดยมีการบรรยายเรื่องการบริหารความเสี่ยงในการลงทุน และชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวร (Tangible Assets) และสินทรัพย์หมุนเวียน (Intangible Assets) รวมถึงการนำเสนอข้อมูลรายได้และภาพรวมธุรกิจในเครือ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นในศักยภาพของบริษัทแก่นักลงทุน
ธุรกิจ
วันที่ 24 ม.ค. 2568
การพัฒนาเทคโนโลยีและการเติบโตของธุรกิจทำให้เกิดช่องโหว่ในการโจมตีทางไซเบอร์ องค์กรจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคาม จากผลสำรวจของ Gartner พบว่าในปี 2024 องค์กรทั่วโลกมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยแบ่งเป็น 41.2% สำหรับคลาวด์, 33.1% สำหรับคลังข้อมูล, 16.8% สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน, 12.6% สำหรับการจัดการความเสี่ยงทั่วไป และ 11.4% สำหรับบริการด้านความปลอดภัย โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยของข้อมูลทั่วโลกจะสูงถึง 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2025 โดยมีประเด็นที่น่าจะตามองกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดั้งนี้
บทความ