ปัจจุบันการยื่นภาษีมีความสะดวกมากขึ้นจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย ระบบจัดเก็บข้อมูลได้เปลี่ยนจากกระดาษสู่ดิจิทัล ลดขั้นตอนที่ซับซ้อนและเพิ่มความรวดเร็ว ในการจัดทำเอกสารสำคัญอย่างใบกำกับภาษี โดยมีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อลดการใช้ทรัพยากรและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้การยื่นภาษีในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องง่ายและป้องกันข้อมูลรั่วไหล โดยรัฐบาลไทยร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านมาตรฐาน และการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุน
e-Tax คืออะไร?
ระบบจัดทำและนำส่งข้อมูลภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้องค์กรจัดการภาษีได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยตามมาตรฐานกรมสรรพากร ผ่านไฟล์ XML หรือ PDF/A-3 ช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซับซ้อนในการจัดทำเอกสาร และลดต้นทุนการส่งเอกสารพร้อมรองรับการทำธุรกรรมออนไลน์ 100% ทำให้การส่งข้อมูลถึงลูกค้าและกรมสรรพากร ช่วยให้เรื่องภาษีเป็นเรื่องง่าย ตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อน E-Tax
1. คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) การรวบรวม จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลภาษีบนเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ระบบคลาวด์สามารถปรับพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลได้อย่างยืดหยุ่น ทำให้ลดความเสี่ยงจากการสูญหายหรือการถูกโจรกรรมข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบกระดาษ
2. ลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) ช่วยยืนยันตัวตน และป้องกันการปลอมแปลงเอกสารของผู้ส่งและรับใบกำกับภาษี สร้างความน่าเชื่อถือให้กับเอกสารจากลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับมาตรฐานของ ETDA
3.ระบบเชื่อมโยง (Integration System) ช่วยเชื่อมโยงกับระบบ ERP ร่วมกับระบบอื่นๆ เช่น ระบบบัญชี ระบบธนาคาร เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานลดขั้นตอนที่ซับซ้อน เพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการจัดการข้อมูลภาษี พร้อมทั้งส่งข้อมูลตรงถึงกรมสรรพากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างปลอดภัย
4. เทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database Technology) ช่วยจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบและปลอดภัย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการมีฟีเจอร์สำรองข้อมูล (Backup) เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย และป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
5.ระบบตรวจสอบ (Validation System) เป็นระบบตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลใบกำกับภาษีตามมาตรฐานกรมสรรพากร เช่น โครงสร้างไฟล์ รูปแบบข้อมูล และความสมบูรณ์ของเอกสาร เป็นต้น เพื่อลดข้อผิดพลาดในการทำธุรกรรม พร้อมเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับกระบวนการจัดการภาษีขององค์กร
6.บล็อกเชน (Blockchain) เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยจากธุรกรรมที่ดูผิดปกติจาก การจัดการข้อมูลภาษี โดยบันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมในรูปแบบที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ช่วยป้องกันการปลอมแปลงข้อมูล และติดตามประวัติการทำธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์และข้อดีของการใช้ e-Tax
1.ลดขั้นตอนและค่าใช้จ่าย ช่วยลดขั้นตอนในการจัดทำและนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงิน ทำให้ประหยัดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับกระดาษและการพิมพ์ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.ลดภาระผู้ประกอบการ ลดความยุ่งยากในการจัดทำเอกสาร ทำให้ผู้ประกอบการมีเวลาให้กับการทำงานส่วนอื่นมากขึ้น
3.ลดความผิดพลาด ระบบตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยอัตโนมัติ ช่วยลดความผิดพลาดในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
4.โปร่งใสและปลอดภัย ข้อมูลถูกบันทึกและตรวจสอบได้ตลอดเวลา ช่วยลดโอกาสต่อการเกิดพฤติกรรมที่ดูผิดปกติและป้องกันการสูญหายของเอกสาร
5.เพิ่มความสะดวกในการจัดการข้อมูล ผู้ประกอบการสามารถจัดการเรื่องภาษีได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านระบบออนไลน์
6.ตอบรับสิทธิประโยชน์จากภาครัฐ ผู้ประกอบการที่ใช้ e-Tax Invoice จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เช่น มาตรการลดหย่อนภาษี เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจจากการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ
ระบบจัดการข้อมูลที่ดีช่วยลดภาระงาน เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างข้อได้เปรียบให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มุ่งพัฒนาบริการจัดเก็บข้อมูลที่สะดวก ปลอดภัย และได้รับรางวัลตามมาตรฐานอย่าง ETDA 21/2562, ISO 27018 และเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่ได้รับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์จาก NRCA
วันที่ 20 ธ.ค. 2567
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) คืออะไร คือ การปกป้องข้อมูล อุปกรณ์ และระบบที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยมุ่งเน้นการป้องกันการเข้าถึงหรือโจมตีที่ไม่ได้รับอนุญาต มาตรการสำคัญประกอบด้วยการเข้ารหัสข้อมูล การยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน และการตรวจจับภัยคุกคามอย่างรวดเร็ว เพื่อเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยและลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมต่อข้อมูลและทรัพย์สินดิจิทัล สามารถแบ่งได้ 6 ประเภทดังนี้
บทความ
วันที่ 19 ธ.ค. 2567
ผลกระทบจากการมีภาคธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลต่อการเกิดภาวะโลกร้อนโดยมีจุดเริ่มต้นจากองค์กรสหประชาชาติ (UNCCC) ในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ปี 1997 สร้างความร่วมมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่าง คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ โอโซน มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งคาดกันว่า หากได้รับการนำไปปฏิบัติ และประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ จะสามารถลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ได้ถึงประมาณ 0.02-0.028 องศาเซลเซียส ภายในปี 2050 เพื่อสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
บทความ
วันที่ 17 ธ.ค. 2567
เทคโนโลยีบล็อคเชน (Blockchain) คือ เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger) ที่บันทึกข้อมูลในรูปแบบ "บล็อก" (Block) และเชื่อมโยงกันเป็น "โซ่" (Chain) ผ่านเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer (P2P) โดยข้อมูลแต่ละธุรกรรมได้รับการยืนยันด้วยลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) เพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปลอมแปลง จึงทำให้ระบบเทคโนโลยีมีความปลอดภัยสูง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาตัวกลาง และเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ
บทความ
© Copyright 2024, Internet Thailand Public Company Limited.