การดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ธุรกิจต่างใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่สามารถขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์อย่างโอเพ่นซอร์ส (Open source หรือ OSS) ซึ่งมีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานเช่นกัน จึงเหมาะต่อการประยุกต์ใช้ร่วมกันระหว่าง Cloud Computing กับ OSS ในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันเชิงธุรกิจ และการดำเนินงานภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพได้หลายประเด็น ดังนี้
1.ประหยัดต้นทุน ลดค่าใช้จ่ายเนื่องจากการใช้ Cloud Computing กับ OSS สามารถปรับใช้งานได้ฟรี ช่วยให้ธุรกิจบริหารงบประมาณได้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังรองรับการขยายระบบได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายซอฟต์แวร์ที่เพิ่มขึ้น
2.ความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน สามารถปรับแต่งโค้ดได้อย่างอิสระเพื่อตอบโจทย์ความ
ต้องการเฉพาะขององค์กร โดยเฉพาะในระบบคลาวด์ที่แต่ละองค์กรมีเงื่อนไขเฉพาะด้านการขยายระบบ และเพิ่มความยืดหยุ่นที่ช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ปรับตัวและเติบโตไปพร้อมกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือความปลอดภัยการปรับแต่งซอฟต์แวร์จึงกลายเป็นข้อได้เปรียบสำคัญต่อการแข่งขันเชิงธุรกิจ
3.ลดการผูกขาดจากผู้ให้บริการ (Vendor lock-in) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อใช้ระบบCloud Computing แบบลิขสิทธิ์ เมื่อองค์กรสร้างโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์โดยพึ่งพาแพลตฟอร์มจากผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง และในส่วนของ OSS ที่สามารถเข้าถึงโค้ดได้อย่างอิสระช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาผู้ให้บริการเดียวและทำให้ธุรกิจมีการควบคุมกลยุทธ์ด้านไอทีในระยะยาวได้อย่างมั่นคง
4.การสนับสนุนจากชุมชน การใช้ OSS ช่วยมักมีชุมชนนักพัฒนาและผู้สนับสนุนที่กว้างขวาง ช่วยให้เกิดการแบ่งปันความรู้และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีการพัฒนาเอกสารและคู่มือที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้รวดเร็ว
5.ความโปร่งใสและความปลอดภัย ถือเป็นปัจจัยสำคัญในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะกับธุรกิจที่เลือกใช้ซอฟแวร์ OSS บน Cloud ซึ่งโค้ดของซอฟต์แวร์สามารถตรวจสอบได้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าซอฟต์แวร์มีความปลอดภัยและไม่มีการฝังโค้ดที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและนักพัฒนาทั่วโลกสามารถตรวจสอบและแก้ไขจุดบกพร่องได้อย่างรวดเร็ว
เห็นได้ชัดว่า การใช้ Open source หรือ OSS บนCloud Computing ช่วยให้ธุรกิจผสานรวมเทคโนโลยีหลากหลายได้อย่างไร้รอยต่อเนื่องจาก OSS มีจุดเด่นคือความยืดหยุ่นและสามารถทำงานได้บนทุกแพลตฟอร์ม จึงสามารถทำงานร่วมกับ Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยเสริมศักยภาพโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่แข็งแรง คุ้มค่า ปลอดภัย
วันที่ 20 ธ.ค. 2567
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) คืออะไร คือ การปกป้องข้อมูล อุปกรณ์ และระบบที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยมุ่งเน้นการป้องกันการเข้าถึงหรือโจมตีที่ไม่ได้รับอนุญาต มาตรการสำคัญประกอบด้วยการเข้ารหัสข้อมูล การยืนยันตัวตนหลายขั้นตอน และการตรวจจับภัยคุกคามอย่างรวดเร็ว เพื่อเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยและลดความเสี่ยงการถูกโจรกรรมต่อข้อมูลและทรัพย์สินดิจิทัล สามารถแบ่งได้ 6 ประเภทดังนี้
บทความ
วันที่ 19 ธ.ค. 2567
ผลกระทบจากการมีภาคธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลต่อการเกิดภาวะโลกร้อนโดยมีจุดเริ่มต้นจากองค์กรสหประชาชาติ (UNCCC) ในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ปี 1997 สร้างความร่วมมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่าง คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ โอโซน มีเทน ไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งคาดกันว่า หากได้รับการนำไปปฏิบัติ และประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ จะสามารถลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ได้ถึงประมาณ 0.02-0.028 องศาเซลเซียส ภายในปี 2050 เพื่อสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
บทความ
วันที่ 18 ธ.ค. 2567
ปัจจุบันการยื่นภาษีมีความสะดวกมากขึ้นจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย ระบบจัดเก็บข้อมูลได้เปลี่ยนจากกระดาษสู่ดิจิทัล ลดขั้นตอนที่ซับซ้อนและเพิ่มความรวดเร็ว ในการจัดทำเอกสารสำคัญอย่างใบกำกับภาษี โดยมีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อลดการใช้ทรัพยากรและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้การยื่นภาษีในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องง่ายและป้องกันข้อมูลรั่วไหล โดยรัฐบาลไทยร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านมาตรฐาน และการพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุน
บทความ
© Copyright 2024, Internet Thailand Public Company Limited.